วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การปฏิบัติงานออกแบบและพัฒนา CAI

การฝึกอบรมการผลิต CAI

งานที่ต้องปฏิบัติ
1. งานเดี่ยวให้นักศึกษาสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใส่ส่วนประกอบของบทเรียนให้ครบ(จะเป็นเนื้อหาอะไรก็ได้)
2. งานกลุ่มให้สร้างบทเรียนตามหัวข้อที่กลุ่มได้รับมอบหมายให้สมบูรณ์ตามโครงสร้างเนื้อหาที่ได้ทำการวิเคราะห์มา
กำหนดส่ง
1. ภาคปกติ ทั้งงานเดี่ยวและกลุ่มภายในวันที่ 14 ตุลาคม 2550
2. ภาคพิเศษ ทั้งเดียวและกลุ่มส่งในห้องเรียนพร้อมนำเสนอผลงานกลุ่มในวันที่ 21 ตุลาคม 2550

ดาวน์โหลดไฟล์ตัวอย่างได้ที่ http://www.rajabhatonline.com/moodle/file.php/1/download/cai.rar
ใครมีปัญหาทั้งเรื่องตัวโปรแกรม Authorware เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้งานติดต่อ ผศ.รัฐกรณ์ ด่วน

งานค้นคว้าเนื้อหามาจัดเก็บใน blog ของตนเอง

ด่วนมาก !!
งานจากการระดมสมองเพื่อกำหนดประเด็นเนื้อหาแล้วให้แต่ละคนค้นคว้าตามประเด็นในแต่ละหัวข้อแล้วนำไปบันทึกในblog ของตนเองใน 4 หัวข้อ คือ
1. นวัตกรรมการศึกษา
2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
3. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
4. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน

ภาคปกติ กำหนดการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 10 ตุลาคม 2550 (จะตรวจให้คะแนนภายในวันที่ 10 เท่านั้น)

ภาคพิเศษ กำหนดให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 13 ตุลาคม 2550 (จะตรวจให้คะแนนภายในวันที่ 13 เท่านั้น) และในวันที่ 14 จะมีการทดสอบความรู้ในเนื้อหาทั้ง 4 เรื่อง(ในห้องเรียน)

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2550

งานจากการระดมสอง(Brain storming) เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายการเรียนรู้

ให้นักศึกษานักศึกษาทุกคนนำประเด็นที่ได้จากการอภิปรายในทุกหัวข้อต่อไปนี้ ไป Post ลงใน Blog ของตนพร้อมหาเนื้อหาตามหัวข้อต่างๆมาใส่ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกหัวข้อ ดังนี้

1. นวัตกรรมการศึกษา
1.1 ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
1.2 ประเภทของนวัตกรรม
1.4 ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม
1.5 การยอมรับและปฏิเสธนวัตกรรม
1.6 การนำนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษา

2. แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
2.1 ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
2.2 ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
2.3 ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีต่อการศึกษา
2.4 การนำแหล่ทรัพยากรการเรียนรู้มาใช้กับการเรียนการสอน

3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
3.1 องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
3.2 ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.4 ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.5 ข้อดี ข้อจำกัด
3.6 การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3.7 การใช้และการประเมินผล

4. เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
4.1 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.2 ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
4.3 ข้อดี-ข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.4 แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กบการศึกษา
4.5 การประเมินผลการใช้งาน

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

งานวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้

1. งานขยายภาพ และการออกแบบโปสเตอร์
-ภาคปกติ ส่งในห้องเรียน วันที่ศุกร์ที่3 สิงหาคม 2550
-ภาคพิเศษ ส่งในห้องเรียนวันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม 2550
2. งานจัดทำหลักสูตร และเนื้อหา การฝึกอบรมครูเรื่อง"การใช้เครื่องมือโสตฯ หรือเทคโนโลยีการศึกษา"
-ภาคปกติ ส่งแนบไฟล์ผ่าน e-Mail : krattakorn@hotmail.com ภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2550
-ภาคพิเศษ ส่งแนบไฟล์ผ่าน e-Mail : krattakorn@hotmail.com ภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2550
3. การสรุปผล และเพิ่มเติมประเด็นที่สมบุรณ์จากการอภิปรายประเด็น"สื่อมวลชนกับการศึกษา"โดยการเรียบเรียงประเด็นใหม่ หาเนื้อหาเพิ่มเติม แล้วเขียนเนลักษณะบทความ(ประกอบด้วย บทนำ ส่วนเนื้อหา(ขยายความในรายละเอียด) และส่วนสรุป ความยาวไม่น้อยกว่า 1 หน้ากระดาษพิมพ์ขนาด A4 นำไปPost ลงใน Blog ของตนเอง (คนที่ยังไม่มีรายชื่อใน blog http://innotech-learning.blogspot.com/ กรุณาส่ง URL blog ของตนเองให้อาจารย์ด่วน )
- ภาคปกติต้องpost บทความใน blog ภายในวันที่ 2 สิงหาคม 2550
- ภาคพิเศษต้องpost บทความใน blogภายในวันที่ 4 สิงหาคม 2550

งานจากการอภิปราย"สื่อมวลชนกับการศึกษา"

ประเด็นที่อภิปราย
สื่อมวลชน หมายถึงอะไร
สื่อมวลชนมีบทบาทหน้าที่อะไรบ้าง
สื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดในปัจจุบันคือ เพราะอะไร?
มีความคิดเห็นอย่างไร? กับคำกล่าวที่ว่าสื่อมวลชนเปรียบเมือนดาบสองคม
มีความคิดเห็นกับการจัดเรตติ้งทางทีวีอย่างไร ?
SMS มีผลดีผลเสียกับสังคมอย่างไร ?
การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา จะเกิดประโยชน์กับการศึกษา หรือการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง ?
จะมีแนวทางในการนำสื่อมวลชนมาใช้กับการศึกษาอย่างไร?

ให้นักศึกษาแต่ละคนสรุปประเด็นของตนเองที่ได้จากการอภิปรายในครั้งนี้(อาจจัดเรียงลำดับประเด็นต่างๆใหม่ให้เหมาะสม) แล้วอาจหาเนื้อหาเพิ่มเติมจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อให้มีความสมบูรณ์ หรือชัดเจนขึ้น หลังจากนั้นนำไป Post ในBlog ของตนเอง ภายในวันที่ 2 สิงหาคม 2550

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

แจ้งข่าว ป.บัณฑิต วิชานวัตกรรมและเทคโลยีเพื่อการเรียนรู้

- ภาคปกติ วันที่27 กรกฎาคม 2550 จะมีการอภิปรายผ่าน MSN "ประเด็นสื่อมวลชนกับการ ศึกษา"ให้ทุกคนรายงานตัวตั้งแต่เวลา 8.30น. เป็นต้นไป สำคัญในเมนู Tool-Option-Personal-My display name ให้ใส่ชื่อจริง ภาษาไทย เช่น รัฐกรณ์



วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

งานวิชานวัตกรรมและเทคโนโนโลยีเพื่อการเรียนรู้

สมมุติท่านได้รับเชิญให้เป็นผู้ให้ความรู้เยวกับการใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีการศึกษา หรือ โสตทัศนูปกรณ์ แก่ครูที่บรรจุใหม่ซึ่งยังไม่มีความรู้ในด้านเหล่านี้ โดยให้เวลาประมาณ 3 วัน ท่านจะดำเนินการอย่างไร ? โปรดนำเสนอรายละเอียดในประเด้นเหล่านี้
1. ท่านจะตั้งหัวข้อในการอบรมว่าอย่างไร?
2. ท่านจะกำหนดวัตถุประสงค์ในการอบรมอย่างไร?(เขียนเป็นข้อๆ)
3. มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดบ้างที่ท่านคิดว่าครูควรจะนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนของครู
4. ให้ท่านนำเสนอรายละเอียดเนื้อหาของแต่ละเครื่องมือในประเด็นเหล่านี้
-หลักการและประโยชน์ในการใช้งาน
-ส่วนประกอบภายนอก-ภายในที่สำคัญ
-หลัการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ
-ข้อควรระวังในการใช้และการบำรุงรักษา
5. ท่านมีกิจกรรมในการดำเนินการให้ความรู้อย่างไร?(เขียนรายละเอียดขั้นตอนให้ชัเจนครบทั้ง 3 วัน)
6.ท่านจะมีวิธีการวัดและการประเมินผลทั้งด้านทฤฎีและปฏิบัติอย่างไร?
- ด้านการปฏิบัติจะทำอย่างไร?(เขียนอธิบายขั้นตอน)
- ด้านทฤษฎีจะทดสอบอย่างไร?(ถ้าเป็นแบบทดสอบให้แสดงโจทก์คำถาม ตัวเลือก พร้อมเฉลย เป็นรายข้อทุกข้อให้ชัดเจน)
7. ท่านมีเกณฑ์ในการประเมินผลอย่างไร?
ให้นำเสนอรายละเอียดทั้งหมดส่งผ่าน e-Mail:krattakorn@hotmail.com ดังนี้
- ภาคปกติ ส่งภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2550
- ภาคพิเศษ ส่งภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2550

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

Blog คืออะไร

มีหลายคนสงสัยและถามผมว่า Blog คืออะไร? ทำไมอาจารย์จึงพูดถึงบ่อย ๆ และให้นักศึกษาไปเรียนรู้ มันจะนำมาใช้เพื่อประโยชน์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร ?จึงขอโอกาสให้ความกระจ่างเล็กๆ น้อยๆ(ยังมีอีกมาก)เกี่ยวกับเรื่องราวของ Blog ในที่นี้เสียเลย
Blog มาจากคำว่า Weblog คือ การเขียนข้อมูลต่าง ๆ ที่เราสนใจ การบอกเล่าประสบการณ์ หรือการบรรยายการใช้ชีวิตในแต่ละวัน หรือข้อมูลอื่นๆ ลงบนเว็บไซต์เพื่อให้ผู้อื่นได้เข้ามาอ่าน ซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบใดก็ได้ไม่จำกัด ซึ่งมีลักษณะคล้าย Webboard ซึ่งเราสามารถตั้งหัวข้อเขียนบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ และเปิดโอกาสให้มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นได้ด้วย แต่ต่างจาก Webboard ตรงที่เราสามารถจัดการหน้า Blog ของเราเองได้เหมือนเราเป็นเจ้าของเว็บไซต์ สามารถลบ เพิ่มแก้ไข เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
Blog เป็นสื่อหรือตัวกลางอย่าหนึ่ง ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน ภึงกลับมีคนกล่าวว่า "Goodbye homepage...hello webblog"ซึ่งประโยชน์ของ Blog พอสรุปได้ดังนี้
1. เป็นสื่อกลางที่ใช้ในรู้การแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียนเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆเพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้
2. ทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆ จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น
3.ทำให้เป็นคนทันโลกทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
4.สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานด้านธุรกิจได้ เช่น ด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาต่าง ๆ เป็นต้น
ในด้านรูปแบบการนำ Blog ไปใช้ก็มีหลากหลายรูปแบบ ดังนี้
1. Personal เป็นการเขียน Blog ในลักษณะการเล่าเรื่องส่วนตัว บรรยายถึงความรู้สึกนึกคิด หรือเล่าเรื่องราวในชีวิตประจำวันที่ได้ประสบพบเจอในลักษณะของ Diary
2. Topical เป็นรูปแบบการเขียน Blog โดยกำหนดหัวข้อหรือจุดมุ่งหมายในการเขียนที่ชัดเจน เช่น ฟุตบอล การเมือง คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
3. Collaborative เป็นรูปแบบการเขียน Blog แบบช่วยกันเขียน ช่วยกันปรับปรุงโดยมีผู้เขียนหลาย ๆคน หรือมีการเชื่อมโยงไปยัง Blog อื่น ๆ
4. Specialty เป็นรูปแบบการเขียน Blog เพื่องานต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษเช่น การรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่าง ๆ
เมื่อทราบเรื่องราวเบื้องต้นของ Blog แล้วลองช่วยคิดต่อหน่อยซิครับว่าจะนำมันมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเราได้อย่างไรบ้าง และในส่วนของการเรียนการสอนน่าจะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไรบ้าง?

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

วิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้(Innovation and Technology for Learning) จำนวน 3(2-2-5) หน่วยกิต
แนวคิด หลักการ ทฤษฏีเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยี เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ แนวคิดเชิงระบบ กระบวนการสื่อความหมาย สื่อและแหล่งการเรียนรู้ สื่ออิเลคทรอนิคส์ และเครือข่ายการเรียนรู้ที่ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ปัญหาจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนรู้
ปฏิบัติการออกแบบ ผลิต ใช้ ประเมิน และปรับปรุงนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ของ Blogs
1. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง
2. สร้างชุมชนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเนื้อหาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
3. ฝึกการใช้เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
4. เป็นเวทีสำหรับการแสดงความคิดเห็นในเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้